วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียม

การประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียม
ข้อมูลดาวเทียมที่ได้จากอุปกรณ์บันทึกต่างระบบ จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ดังนั้น
ก่อนที่จะนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ จำเป็นต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติของดาวเทียมด้วย
โดยทั่วไปแลว้ ผู้ใช้ข้อมูลมักจะพิจารณาด้าน คุณสมบัติเชงิ คลื่น มคี ุณสมบตั ิเชิงพนื้ ที่ และ
คุณสมบัติเชิงกาลเวลา (temporal characteristic)
การประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมคล้ายกับการใช้ภาพถ่ายทางอากาศ ในด้านแปลความหมาย
จากภาพ แต่ภาพข้อมูลดาวเทียมมีศักยภาพต่างไปจากภาพถ่ายทางอากาศ เทคนิคการแปล
ความหมายก็แตกต่างกัน ภาพข้อมูลดาวเทียมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลาย ๆ ด้านเช่น ป่าไม้
การใช้ทดีิ่น การเกษตร ธรณีวิทยา อุทกวิทยา อุบัติภัย ลักษณะตะกอนชายฝั่ง ภัยธรรมชาติ

และการปรับปรุงแผนที่ เป็นต้น ดังมีรายละเอียดพอสรุปได้ ดังนี้

   ด้านการเกษตร (Agriculture)
ข้อมูลรีโมทเซนซิงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรได้หลายอย่าง เช่น
การทำแผนที่ เพาะปลูกพืช การบ่งชี้เชื้อโรคต่าง ๆ และความเครียดของพืช การประเมิน
ผลผลิตพืช และ การตรวจหาวัชพืช และพืชที่ผิดกฎหมาย เช่น ฝิ่น เป็นต้น
                        http://www.scitu.net/gcom/wp-content/uploads/2008/08/rsagri.jpg

     ด้านธรณีวิทยา (Geology)
เช่น จำแนกรอยแตกแยกหรือโครงสร้างอื่น ๆ ทำแผนที่ภูมิสัณฐานวิทยาและแผนที่
พืชพรรณ การสำรวจแหล่งแร่ธาตุและน้ำมันปิโตรเลียม การวิเคราะห์ทางธรณีสัณฐาน
และการระบายน้ำ และการจำแนกชนิดของหิน
                  http://www.scitu.net/gcom/wp-content/uploads/2008/08/rsgeology.jpg

ด้านสมุทรศาสตร์ (Oceanography)
เช่น ตรวจอุณหภมู ขิ องทะเล ทำแผนที่พนื้ ผิวทะเลและภมู ิประเทศใต้ท้องทะเล ทำแผนที่
กระแสน้ำในทะเล (Ocean Current Mapping) ศึกษามลภาวะในทะเล และศึกษาหาแหล่งปลา
และ ศึกษาน้ำแข็งในทะเล
                   http://www.scitu.net/gcom/wp-content/uploads/2008/08/rsfishery.jpg
  อุทกวิทยา (Hydrology)
ติดตามแหล่งกักเก็บน้ำใต้ดิน ติดตามกิจกรรมด้านการชลประทาน ทำแผนที่แหล่ง
ความเค็ม การประเมินความชื้นในดิน และอุณหภูมิพื้นผิวดิน วางแผนด้านวิศวกรรมการก่อสร้าง
และติดตามประสิทธิภาพของงาน


http://www.scitu.net/gcom/wp-content/uploads/2008/08/rsdam.jpg

การทำแผนที่ (Cartography)
ในแขนงวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวัด และจัดทำแผนที่ เช่น จีโอดีซี่และโฟโตแกรมเมตรี
(Geodesy and Photogrammetry) สามารถรวมกับข้อมูลอื่นเพื่อแสดงผลผลิตแผนที่
ทำภาพสามมิติเพื่อจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ และ เก็บรวบรวมและ แก้ไขแผนที่ให้ทันสมัย
                   http://www.scitu.net/gcom/wp-content/uploads/2008/08/rsmap.jpg

 ด้านอุตุนิยมวิทยา (Meteorology)
ศึกษาอุณหภูมิ และรูปแบบของอากาศท้องถิ่น ทำแผนที่เมฆ ติดตามการเคลื่อนตัว
ของพายุโซนร้อน ติดตามไฟป่า ทำแผนที่แหล่งที่มีหิมะปกคลุม และ ศึกษาสภาพอากาศ
                      http://www.scitu.net/gcom/wp-content/uploads/2008/08/rsnargis.jpg

              ศึกษาด้านผังเมือง (Urban Planning Studies)
เช่น ทำแผนที่แสดงขอบเขตและการเปลี่ยนแปลงการตั้งถิ่นฐานเมือง ศึกษาด้านความ
หนาแน่นของชุมชน และการระบายน้ำในตัวเมือง ศึกษาเกี่ยวกับเส้นทางคมนาคม
และประเมินผลกระทบที่เกิดจากการขยายตัวของเมืองและอุตสาหกรรมที่มีต่อสภาวะอากาศ
ตัวอย่างกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมในประเทศไทย ด้านการใช้ประโยชน์
ที่ดิน ด้านการเกษตร และด้าน อื่น ๆ สามารถตรวจได้จากวารสารสำรวจระยะไกล
และสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Journal of Remote Sensing and GIS Applications)
ที่ออกโดยสมาคมสำรวจข้อมูลจากระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ
วารสารที่เกี่ยวข้อง อื่น ๆ นอกจากนี้แล้ว สมพร สง่าวงศ์ (2543) ได้รวบรวมบทความทางวิชาการ
ด้านสำรวจระยะไกล และสารสนเทศภูมิศาสตร์ไว้ กรณีศึกษา ซึ่งอาจจะเป็นแนวทางในการ
นำเอาข้อมูลสำรวจระยะไกล ไปประยุกต์ใช้ในสาขาที่สนใจต่อไป
                 http://www.scitu.net/gcom/wp-content/uploads/2008/08/rsurban.jpg

 โบราณคดี 
 ภาพถ่ายจากดาวเทียมรายละเอียดสูง ใช้ติดตามพื้นที่ แหล่งชุมชนโบราณ หรือพื้นที่โบราณสถาน
   ภาพถ่ายจากดาวเทียมรายละเอียดสูง ช่วยติดตามเพื่อการบำรุงรักษา คู คันดินรอบชุมชน
สระน้ำหรือบาราย เขื่อน

                  http://www.scitu.net/gcom/wp-content/uploads/2008/08/rshistory.jpg

 ศึกษาทรัพยากรธรรมชาติที่ฟื้นตัวได้ (Renewable Resources)
เข่น สำรวจและติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Cover Inventory And Monitoring)
ศึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำแผนที่ชนิดของภูมิประเทศ ประเมินผลกระทบ
ของภัยธรรมชาติ เช่น ไฟป่า และความแห้งแล้ง


             ศึกษาด้านการชะล้างพังทลายของดิน (Soil Erosion Mapping)
เช่น ทำแผนที่และติดตามการชะล้างพังทลาย พยากรณ์แหล่งที่มีการชะล้างพังทลาย
ติดตามแหล่งที่มีการพังทลายของดิน และความเป็นทะเลทราย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น